วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 6 (2)

1. อธิบายชื่อและกิจกรรมของฝ่ายต่างๆทั้ง 5 ฝ่ายตามบททดสอบปลายเปิดบทที่ 6 (1)
การบัญชี หมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนของบันทึกรายการทางการค้า ได้แก่ การเขียนบันทึกรายการทางการค้า การจำแนกแยกประเภทหมวดหมู่ทางการค้า การสรุปผลการดำเนินงาน รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลของนักบัญชี
หน้าที่ทางการตลาด  หมายถึง  กิจกรรมที่เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค  เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
การบริหารการผลิต
                การผลิตเป็นการสร้างสรรค์สินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการมนุษย์ ผู้ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่สิ้นสุด แต่เนื่องจากการมีทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น จึงได้เข้ามาเป็นตัวกำหนดบทบาทในกระบวนการผลิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิด
การบริหารการผลิต เพื่อช่วยให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของมนุษย์ อีกประการหนึ่งยังเป็นการช่วยให้เรานำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย โดยการผลิตมีการแปรรูปปัจจัยนำเข้าต่างๆ ผ่านกระบวนการที่ทำให้ผลผลิตที่ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจัยนำเข้า ดังนั้นการผลิตจึงเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจที่มีผลโดยตรงต่อความอยู่รอด
งานด้านฝ่ายทรัพยากรบุคคล คือ งานที่มีบทบาทอยู่ในทุกส่วนงานของ IKEA ตั้งแต่จัดหาบุคลากร จัดฝึกอบรม ไปจนถึงมีส่วนร่วมในแผนงานธุรกิจและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณสมบัติพร้อม สืบทอดงานอย่างต่อเนื่อง บทบาทสำคัญอีกประการของ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล คือปกป้องและสร้างความแข็งแกร่งให้กับแนวทางความเป็น IKEA แนวทางที่หลอมรวมทุกคนเข้าไว้ด้วยกันไม่ว่าจะมาจากพื้นฐานแบบใด เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนพัฒนาไปพร้อมๆกันได้อย่างเป็นรูปธรรม ทีมทรัพยากรบุคคลยังมีหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ร่วมงานทุกคนให้มีความสุขในการทำงาน และมั่นใจว่าจะสามารถเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงานในอนาคต โดยร่วมมือกับผู้จัดการแผนกต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ร่วมงานทุกคนอย่างเหมาะสม
 ฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิชาการ
 เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่า หัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศเพื่อให้สามารถยืนหยัดในเวทีนานาชาติ ในสภาพการแข่งขันไร้พรมแดนได้ คือความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นกลไกหลักในการสร้างองค์ความรู้ จึงถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้าน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก จึงได้จัดตั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิชาการขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านงานวิจัย งานบริการวิชาการ รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลในการให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต แก่นิสิต นักศึกษา และบุคลากรภาคเอกชน

2. อภิปลายบทบาทของผู้บริหารทั้ง 3 ระดับในองค์กรตามบททดสอบปลายเปิดบทที่ 6 (1)
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับสูง หมายถึง ประธานกรรมการจนไปถึงกรรมการผู้จัดการ หรืออาจเรียกว่าผู้ริเร่มก่อตั้งองค์การ
หน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง
เป็นผู้ตัดสินใจแผนการระยะยาวที่เกี่ยวกับทิศทางโดยรวมขององค์การ
กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและกลยุทธ์
แนะนำทางการจัดการในสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้2412
ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับกลาง หมายถึง ผู้อำนวยการ หัวหน้าศูนย์ ผู้จัดการแผนก หรือหัวหน้าสายงาน
หน้าที่ของผู้บริหารระดับกลาง
ดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้
ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดนโยบายให้ผู้จัดการระดับล่าง ได้นำแผนงานไปปฏิบัติ
ผู้บริหารระดับล่าง
ผู้บริหารระดับล่าง หมายถึงหัวหน้าแผนกหรือหัวหน้าคนงาน
หน้าที่ของผู้บริหารระดับล่าง
ทำตามนโยบายที่ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลางกำหนดไว้
ทำการตัดสินใจระยะสั้นในการดำเนินงาน
ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับทีม สร้างแรงจูงใจและสามารถรับผิดชอบแทนผู้ที่อยู่ในแผนกของตนได้

3. ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานทั้ง 4 ชนิด มีอะไรบ้าง
 ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร 
 จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท  ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)
1.  ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) 
2. ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
3.  ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)
4.  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
  5 .ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
6.ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)
  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

4. อธิบายความแตกต่างของรายงานแต่ละชนิดและบทบาทของผู้บริหารในการตัดสินใจ
บทบาทของผู้บริหาร แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal roles) ได้แก่ บทบาทจากหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ได้แก่
 หัวหน้า (Figurehead) มีบทบาทในการบังคับบุคคลเพื่อให้ทำหน้าที่ที่รับผิดชอบ
 ผู้นำ (Leader) มีบทบาทในการกระตุ้น/เร้าผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในด้านการทำงาน หรือด้านอื่นๆ
  ผู้ติดต่อ (Liaison) มีบทบาทในการติดต่อกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการด้านการค้า
2. บทบาทด้านสารสนเทศ (Informational roles) ได้แก่
ผู้ตรวจสอบ (Monitor) มีบทบาทในการค้นหาและรับข้อมูลมาใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอก
ผู้เผยแพร่ (Disseminator) มีบทบาทในการส่งข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก หรือจากหน่วยงานย่อย
ให้กับสมาชิกขององค์กร
โฆษก (Spokesman) มีบทบาทในการส่งข้อมูลไปยังภายนอก ตามแผนหรือนโยบายขององค์กร
3. บทบาทด้านการตัดสินใจ (Decisional roles) ได้แก่
ผู้จัดการ (Entrepreneur) มีบทบาทในการค้นหาการจัดการและสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาส และ
ริเริ่มหรือแนะนำในด้านการควบคุมภายในองค์กร
ผู้จัดการสิ่งรบกวน (Disturbance Handler) มีบทบาทในการปรับการทำงานให้ไปในทางที่ถูก
เมื่อองค์การเผชิญกับสิ่งรบกวนที่ไม่คาดคิดมาก่อน
 ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocator) มีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากร ให้แก่หน่วยงาน
ต่างๆ ตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้
 ผู้เจรจา (Negotiator) มีบทบาทในการเป็นตัวแทนองค์กรในการติดต่อเจรจากับองค์กรอื่นๆ

 5.ระบบสำนักงานอัตโนมัติและระบบการทำงานที่ใช้ความรู้เฉพาะด้านแตกต่างกันอย่างไร
สำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation หรือ OA) เป็นแนวคิดในการนำเอาระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ และผนวกด้วยซอฟต์แวร์สำหรับช่วยงานในสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นสำนักงานไร้กระดาษ โดยให้ทำงานต่อไปนี้
  - สื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
   - จัดพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีคุณภาพ
   - การออกแบบสิ่งพิมพ์และเอกสาร โดยโปรแกรมที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในขณะนี้ก็คือโปรแกรม PageMaker
    - รับข้อความจากผู้โทรศัพท์เข้ามาติดต่อแล้วบันทึกเสียงนั้นไว้หากผู้รับไม่อยู่ในสำนักงาน
    - บันทึกภาพลักษณ์ (Inage) ของเอกสารต่าง ๆ ไว้ในระบบประมวลภาพลักษณ์ (Image Processing System)
 - มีระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์สื่อสาร
 และกล้องวีดิทัศน์ ทำให้ผู้บริหารหน่วยงานสามารถประชุมปรึกษาหารือกับผู้บริหารที่อยู่คนละสถานที่โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปประชุมด้วยกัน
      - มีระบบช่วยงานผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้แก่ การบันทึกนัดหมาย การบันทึกข้อความส่วนตัว การนัดประชุม การคำนวณ การตัดสินใจ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น