วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 7 (2)

1. พจานุกรมข้อมูล หมายถึง
Data Dictionary คือ พจนานุกรมข้อมูล ที่แสดงรายละเอียดตารางข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล (Database) ซึ่งประกอบด้วยรีเลชั่น (Relation Name), แอตทริบิวต์ (Attribute), ชื่อแทน (Aliases Name), รายละเอียดข้อมูล (Data Description), แอตทริบิวโดเมน (Attribute Domain), ฯลฯ  ทำให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  พจนานุกรมข้อมูลเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบของพจนานุกรมโดยทั่วไปและรูปแบบของข้อมูลในระบบงานคอมพิวเตอร์  เพื่ออธิบายชนิดของข้อมูลแต่ละตัวว่าเป็น ตัวเลข อักขระ ข้อความ หรือวันที่ เป็นต้น  เพื่อช่วยในการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ในการอ้างอิงหรือค้นหาที่เกี่ยวกับข้อมูล  หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า Data Dictionary คือ เอกสารที่ใช้อธิบายฐานข้อมูลหรือการจัดเก็บฐานข้อมูล  ซึ่ง Data Dictionary มีประโยชน์ ดังนี้

-  จัดเก็บรายละเอียดข้อมูล-  แสดงความหมายที่เกี่ยวกับระบบ
-  ทำเอกสารที่บอกคุณลักษณะของระบบ-  หาข้อบกพร่องและสิ่งที่หายไปจากระบบ


2. ส่วนเครื่องมือสร้างระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึงอะไร
ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System) หรือที่เรียกว่า   ดีบีเอ็มเอส (DBMS) 
คือซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมาโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูลซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์



3. ไฟล์ คืออะไร
หมายถึง ข้อสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติเป็น แม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดา หรือจานแข็ง (hard disk) ก็ตาม ข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป อาจจะเป็นโปรแกรม ข้อมูล หรือภาพ (graphics) ก็ได้ แต่ละเรื่องต่างก็ต้องมีชื่อเป็น ของตนเอง ที่ต้องไม่ซ้ำกัน เรียกว่า "แฟ้มข้อมูล"

4. ฟิลด์หลัก หมายฟิลด์
 (Field) ฟิลด์ หมายถึงการเก็บข้อมูล 1 ตัวอักษรหรือมากกว่าที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกันไว้ สามารถสื่อความหมายและบอกคุณลักษณะที่เราสนใจได้ เช่น ใช้ตัวอักขระจำนวน 8 ตัว มาประกอบกันเป็นชื่อคนเช่น ชื่อบุญสืบ ประกอบด้วยตัวอักษร BOONSUEP ตั้งชื่อฟิลด์นี้ว่าฟิลด์ NAME เพื่อใช้ในการเก็บชื่อ ข้อมูลชนิดฟิล์นี้จะใช้แทนข้อเท็จจริง คุณลักษณะของสิ่งที่เราสนใจศึกษา เช่น รหัสพนักงานชื่อ ที่อยู่ วันเกิด เงินเดือน ฯลฯ เป็นต้นถึง

5. มุมมองเชิงตรรกะ หมายถึงข้อมูลอะไร
มุมมองของข้อมูล          ในมุมมองข้อมูลแต่ละกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องจะมองฐานข้อมูลได้ไม่ตรงกัน เช่น ถ้านักคอมพิวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างข้อมูลจะมองฐานข้อมูลในรูปแบบการจัดเก็บที่ไหน อย่างไร แต่ถ้าผู้ใช้ฐานข้อมูลทั่วไปจะมองข้อมูลในลักษณะมโนทัศน์ ในรูปแบบคล้ายคลึงกับการจัดเก็บในเอกสาร ที่มีโครงสร้างเป็นตาราง ประกอบด้วยแถวหลาย ๆ แถว และหลาย ๆคอลัมน์        1. มุมมองเชิงตรรกะมุมมองเชิงตรรกะ เป็นมุมมองการจัดเก็บข้อมูลแบบง่ายที่สุด ที่ทุก ๆ คนสามารถทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูลแบบนี้ได้ ใช้มุมมองแบบนี้สำหรับสื่อสารทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ให้ข้อมูล หรือผู้ใช้ข้อมูลกับผู้ออกแบบฐานข้อมูล จนถึงผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการมองข้อมูลเป็นลักษณะตาราง มีแถวหลายแถวมีคอลัมน์ จำนวนหนึ่ง ข้อมูลจัดเก็บอยู่ในช่องระหว่างแถวกับคอลัมน์ เมื่อทุกคนเข้าใจได้ง่ายทำให้การออกแบบฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น         2. มุมมองเชิงกายภาพมุมมองเชิงกายภาพ จะเน้นที่สิ่งมองเห็นจริง เช่น แหล่งที่จัดเก็บข้อมูล ว่าจัดเก็บในแหล่งที่ใด อาจจะเป็น ฮาร์ดดิสก์หรือเทป จัดเก็บข้อมูลเป็นเช่นไร เข้ารหัสหรือไม่ ประเภทข้อมูลข้อความหรือภาพหรือเสียง มีการสร้างดัชนี ณ ตำแหน่งคอลัมน์ใด ๆ บ้าง ซึ่งมุมมองเชิงกายภาพจะเป็นเรื่องยากที่ผู้ใช้โดยทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย แต่สำหรับนักวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลจำเป็นต้องเข้าใจในมุมมองนี้ด้วย



6. ฐานข้อมูลแบบกระจาย คือฐานข้อมูลแบบไหน
ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database) 

ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System) ประกอบด้วย ฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล และหน่วยความจำ ที่ใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นจาน บันทึก (Disk) สำหรับการจัดเก็บแบบเชื่อมตรง (on-line) หรืออาจจะเป็นแถบบันทึก (Tape) สำหรับ การจัดเก็บแบบไม่เชื่อมตรง (off-line) เพื่อใช้เป็น หน่วยเก็บสำรอง ระบบฐานข้อมูลแบบนี้สามารถ ถูกเรียกใช้งานได้จากจุดอื่นๆ ที่มีเครื่องปลายทาง (Terminal) ประจำอยู่ แต่ละฐานข้อมูลและ ซอฟต์แวร์จะอยู่รวมกันที่จุดเดียวเท่านั้น ซึ่งเมื่อ ระบบคอมพิวเตอร์เจริญมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาการ ในเรื่องเครือข่ายสำหรับการติดต่อดีมากขึ้น ทำให้ มีการศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบ กระจายขึ้น เหตุจูงใจสำหรับการพัฒนาฐานข้อมูล แบบกระจายมีอยู่ด้วยกันหลายประการ 


7. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย คือฐานข้อมูลแบบไหน
ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
8. SQL หมายถึงอะไร
SQL คืออะไร
     SQL ย่อมาจาก structured query language คือภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อจัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ เป็นภาษามาตราฐานบนระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเป็นระบบเปิด (open system) หมายถึงเราสามารถใช้คำสั่ง sql กับฐานข้อมูลชนิดใดก็ได้ และ คำสั่งงานเดียวกันเมื่อสั่งงานผ่าน  ระบบฐานข้อมูลที่แตกต่างกันจะได้ ผลลัพธ์เหมือนกัน ทำให้เราสามารถเลือกใช้ฐานข้อมูล ชนิดใดก็ได้โดยไม่ติดยึดกับฐานข้อมูลใดฐานข้อมูลหนึ่ง นอกจากนี้แล้ว SQL ยังเป็นชื่อโปรแกรมฐานข้อมูล ซึ่งโปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่ง ซึ่งแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Select query ใช้สำหรับดึงข้อมูลที่ต้องการ
2. Update query ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูล
3. Insert query ใช้สำหรับการเพิ่มข้อมูล
4. Delete query ใช้สำหรับลบข้อมูลออกไป

9. กระประมวลผลแบบทันที หมายถึงอะไร
การประมวลผลแบบทันที (real-time processing) คือ การประมวลผลข้อมูลจากสถานที่จริงจากเวลาและเหตุการณ์จริง โดยปกติแล้วจะทำควบคู่กับแบบ On-line processing (On-line processing ก็คือการทำงานแบบตอบสนองหรือให้ Output แบบทันทีทันใด) ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า "on-linereal-time"



การประมวลผลแบบทันที (real-time processing) นี้มีจุดประสงค์เพื่อนำ Output ที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา และดำเนินการต่าง ๆ ได้ทันท่วงที หรือทันกาล ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกับเครื่องตรวจจับป้องกันไฟไหม้ (โดยกำหนดว่าถ้ามีควันมากและอุณหภูมิสูงผิดปกติถือว่าเกิดไฟไหม้) ซึ่งคอมพิวเตอร์จะต้องนำข้อมูล (จากสถานที่เหตุการณ์และเวลาจริง) มาประมวลผลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และถ้าประมวลผลแล้วพบว่าไฟไหม้ คอมพิวเตอร์ก็จะสั่งให้น้ำยาดับเพลิงที่ติดตั้งไว้ทำงาน (ตอบสนองทันที) การที่คอมพิวเตอร์ฉีดทันทีเราอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลจากการทำงานแบบ On-line นั่นเอง


10. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หมายถึง

การจัดเก็บฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ได้เริ่มรู้จักกัน บทความชื่อ A Relational Model of Data for Large Shared Data Banks  ของ Dr.Edgar Frank Codd  หรือ Dr. E. F. Codd ซึ่งขณะนั้นเป็นนักวิจัยอยู่ที่บริษัท IBM ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Association of Computer Machinery (ACM) journal เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1970   การสร้างโมเดลเชิงสัมพันธ์ได้ใช้ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเซต (Set) มาอธิบายการทำงาน  แนวคิดของ Codd นี้ได้ถูกพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลที่ชื่อว่า Oracle จากบริษัท Relational Software หรือ บริษัท Oracle ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น