วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 7 (1)

คำสั่ง จงตอบคำถามแต่ละข้อให้สมบูรณ์

1. อธิบายโครงสร้างข้อมูลตามมุมมองเชิงตรรกะ
ตอบ      ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต



2. ความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบกลุ่มกับการประมวลผลแบบทันที และยกตัวอย่างของการประมวลผลแต่ละชนิด
ตอบ  การประมวลผลแบบกลุ่ม เป็นการประมวลผลที่มีการรวบรวมข้อมูลไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วทำการประมวลผลพร้อมกันการประมวลผลแบบทันทีทันใด เป็นการประมวลผลแบบทันทีที่มีการรับข้อมูลเข้าสู่ระบบ


3. อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูลทั้ง 5 ส่วน
ตอบ  - ส่วนเครื่องมือสร้างระบบจัดการฐานข้อมูล มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างมุมมองเชิงตรรกะและมุมมองเชิงกายภาพ
- ส่วนการนิยามข้อมูล มีหน้าที่กำหนดโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะ
- ส่วนการจัดการข้อมูล จะมีเครื่องมือสำหรับบำรุงรักษาฐานข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ภาษาเอสคิวแอลและคิวบีอี
- ส่วนการสร้างโปรแกรมประยุกต์ จะมีเครื่องมือสำหรับสร้างฟอร์มป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบและมีโปรแกรมภาษาสำหรับเชื่อมต่อกับภาษา
- ส่วนการบริหารข้อมูล ทำหน้าที่ในการจัดการกับภาพรวมของฐานข้อมูลทั้งหมดโดยผู้บริหารฐานข้อมูลเป็นผู้จัดการเพื่อให้การใช้ฐานข้อมูลเป็นไปด้วยความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


4. อธิบายเกี่ยวกับประเภทของฐานข้อมูลทั้ง 5 ส่วน
ตอบ  การแบ่งประเภทของระบบฐานข้อมูลมีการแบ่งออกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทที่นำมาจำแนกในบทเรียนนี้จะแบ่งประเภทของระบบฐานข้อมูลออกเป็น ประเภทใหญ่ ตามชนิดต่าง ๆ ดังนี้



  1.แบ่งตามจำนวนของผู้ใช้
 การแบ่งโดยใช้จำนวนผู้ใช้เป็นหลัก สามารถแบ่งออกเป็น ประเภทได้แก่
    1.1 ผู้ใช้คนเดียวเป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้ภายในองค์กรขนาดเล็ก เช่น ระบบ Point of sale ของร้านสะดวกซื้อ หรือระบบบัญชีของร้านเล็ก ๆ ทั่วไป เป็นต้น มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวและผู้ใช้เพียงคนเดียว ไม่มีการแบ่งฐานข้อมูลร่วมกันใช้กับผู้อื่น ถ้าผู้ใช้คนอื่นต้องการใช้ระบบนี้จะต้องรอให้ผู้ใช้คนแรกเลิกใช้ก่อนจึงจะใช้ได้
     1.2  ผู้ใช้หลายคน แบ่งออกเป็น ประเภทย่อย ๆ ได้แก่ ผู้ใช้เป็นกลุ่ม หรือ Workgroup database และประเภทฐานข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่หรือ Enterprise database
    ผู้ใช้เป็นกลุ่ม เป็นฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้หลายกลุ่มหรือหลายแผนก และแต่ละกลุ่มอาจมีผู้ใช้หลายคน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันหรืออาจจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันก็ได้ แต่จะอยู่ในองค์กรเดียวกันเท่านั้น
 องค์การขนาดใหญ่ เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาหลายสาขา ทั้งในประเทศหรือมีสาขาในต่างประเทศ จะใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มีระบบสำรอง การรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี

 2. แบ่งโดยใช้ขอบเขตของงาน
 การแบ่งโดยใช้ขอบเขตของงาน แบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเภทผู้ใช้คนเดียว ประเภทผู้ใช้เป็นกลุ่มและประเภทองค์การขนาดใหญ่ ดังได้กล่าวรายละเอียดในตอนต้นแล้ว

 3. แบ่งตามสถานที่ตั้ง
 การแบ่งตามสถานที่ตั้ง แบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเภท ศูนย์กลาง  และประเภทกระจาย  ทั้งสองประเภทมีรายละเอียดดังนี้

   3.1 ประเภทศูนย์กลาง เป็นระบบฐานข้อมูลที่นำเอามาเก็บไว้ในตำแหน่งศูนย์กลาง ผู้ใช้ทุกแผนก ทุกคนจะต้องมาใช้ข้อมูลร่วมกัน ตามสิทธิ์ของผู้ใช้แต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน
     3.2 ประเภทกระจาย เป็นระบบฐานข้อมูลที่เก็บฐานข้อมูลไว้ ณ ตำแหน่งใด ๆ ของแผนก และแต่ละแผนกใช้ฐานข้อมูลร่วมกันโดยผู้มีสิทธิ์ใช้ตามสิทธิ์ที่ได้กำหนดจากผู้มีอำนาจ การเข้าถึงข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลของฝ่ายบุคคลเก็บไว้ที่แผนกทรัพยากรบุคคล ยอมให้ฝ่ายบัญชีนำรายชื่อของพนักงานไปใช้ร่วมกับฐานข้อมูลการจ่ายโบนัส และในขณะเดียวกันฝ่ายบัญชีมีฐานข้อมูลเก็บเงินเดือน สวัสดิการและรายจ่ายต่าง ๆ ของพนักงานเพื่อให้แผนกอื่นๆ เข้ามาใช้ได้เช่นกัน

 4.แบ่งตามการใช้งาน
 การแบ่งตามการใช้งานแบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลสำหรับงานประจำวัน  ฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ และเพื่อเป็นคลังข้อมูล
   4.1 ฐานข้อมูลสำหรับงานประจำวัน เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในงานประจำวันของพนักงานระดับปฏิบัติการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ เช่น งานสินค้าคงคลัง งานระบบซื้อมาขายไป สำหรับร้านสะดวกซื้อ หรือระบบงานขายของร้านค้าทั่วไป เป็นต้น ฐานข้อมูลประเภทนี้มีการนำข้อมูลเข้า เปลี่ยนแปลงและลบออกตลอดทั้งวัน จึงทำให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    4.2 ฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ระบบฐานข้อมูลประเภทนี้มีไว้เพื่อใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ระดับผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป ข้อมูลที่นำเข้ามาในระบบได้จากการป้อนข้อมูลงานประจำวันของฐานข้อมูลสำหรับงานประจำวัน ส่วนใหญ่ฐานข้อมูลประเภทนี้นำไปใช้ในงานวางแผนกลยุทธ์ในองค์กร
  4.3 ฐานข้อมูลเพื่อเป็นคลังข้อมูล ฐานข้อมูลประเภทนี้เกิดจากการนำข้อมูลเข้ามาในระบบทุก ๆ วันจึงทำให้เกิดมีข้อมูลขนาดใหญ่ จึงนำเอาข้อมูลที่มีประโยชน์มาสร้างฟังก์ชันหรือสมการต่างเพื่อประมวลผลหาผลลัพธ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์กับองค์กร



5. ประโยชน์ของฐานข้อมูลคืออะไร

ตอบ - ความปลอดภัยของฐานข้อมูล มี 2 ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ สิทธิส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว และการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พิเศษที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่ายภายในองค์กร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น