วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 6 (1)

คำสั่ง จงอธิบายลักษณะงานตามหน้าที่ขององค์กรแต่ละฝ่ายดังนี้



1. ฝ่ายบัญชี


หน้าที่หลักของการบัญชี
1             ตรวจสอบรายรับรายจ่ายต่างๆ ของบริษัท
2             บันทึกบัญชีของสมุดรายวันชั้นต้นตรวจสอบ Statement
3             จัดทำรายการทางการเงินประจำเดือน (งบทดลองและรายละเอียดลูกหนี้)
4             ใบเรียกเก็บเงิน
5             บัญชีค่าใช้จ่าย
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาด
1.  ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
             2.  ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
·       ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
·       ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
·       ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
·       มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
·       มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน



2. ฝ่ายการตลาด


หน้าที่หลักของการตลาด
1.             จัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด
2.             แจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค
3.           การบริการให้ความสะดวก  เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง  และถาวร  การตลาดจึงต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจต่าง ๆ
4.        สื่อสารข้อมูลทางการตลาด  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต  เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค  บริโภค  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง  
  
3. ฝ่ายการผลิต
หน้าที่หลักของการผลิต
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
                1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
                2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
                3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
                4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
                5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ



4. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล


     การที่ IKEA จะพัฒนาได้ ต้องอาศัยทีมงานที่มีคุณภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นอยู่เสมอ แนวทาง HR ของ IKEA คือเปิดโอกาสให้กับผู้คนทั่วไป ที่มีความตั้งใจจริง ตรงไปตรงมา และมีความสามารถ ได้เติบโตไปพร้อมกับ IKEA เพราะการเติบโตของผู้ร่วมงานก็คือการเติบโตของ IKEA นั่นเอง บทบาทหน้าที่ของทีม HR จึงต้องช่วยสนับสนุนแนวทางของ IKEA ในการทำให้ทุกวันของทุกคนมีความสุข ซึ่งทุกคนในที่นี้หมายถึงทั้งชาว IKEA และลูกค้าของเรา งานด้านทรัพยากรบุคคลคือ งานที่มีบทบาทอยู่ในทุกส่วนงานของ IKEA ตั้งแต่จัดหาบุคลากร จัดฝึกอบรม ไปจนถึงมีส่วนร่วมในแผนงานธุรกิจและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณสมบัติพร้อม สืบทอดงานอย่างต่อเนื่อง 
  บทบาทสำคัญอีกประการของ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล คือปกป้องและสร้างความแข็งแกร่งให้กับแนวทางความเป็น IKEA แนวทางที่หลอมรวมทุกคนเข้าไว้ด้วยกันไม่ว่าจะมาจากพื้นฐานแบบใด เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนพัฒนาไปพร้อมๆกันได้อย่างเป็นรูปธรรม 
ทีมทรัพยากรบุคคลยังมีหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ร่วมงานทุกคนให้มีความสุขในการทำงาน และมั่นใจว่าจะสามารถเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงานในอนาคต โดยร่วมมือกับผู้จัดการแผนกต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ร่วมงานทุกคนอย่างเหมาะสม 



5. ฝ่ายวิจัย
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิชาการ
      เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่า หัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศเพื่อให้สามารถยืนหยัดในเวทีนานาชาติ ในสภาพการแข่งขันไร้พรมแดนได้ คือความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นกลไกหลักในการสร้างองค์ความรู้ จึงถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้าน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก จึงได้จัดตั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิชาการขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านงานวิจัย งานบริการวิชาการ รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลในการให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต แก่นิสิต นักศึกษา และบุคลากรภาคเอกชน
วัตถุประสงค์ 



1. เพื่อให้บริการงานวิจัย การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาต่างๆ แก่อุตสาหกรรมการผลิต
    ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
2. เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ วิศวกร ช่างเทคนิคและบุคลากรที่ทำงาน
    ในอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัย
3. เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้บริการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยให้แก่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ
    และเอกชน
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และฝึกอบรมบุคลากรทั้งหน่วยงานภาครัฐ
    และเอกชน
5. เพื่อเพื่อให้ความร่วมมือทางวิชาการด้านวิศวกรรมการผลิตที่ทันสมัย แก่อุตสาหกรรมการผลิตทั้ง
    หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

แผนกปฏิบัตการ
1. แผนกวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 
        เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การบริการวิจัย การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนในเชิงความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต และการสนับสนุนในเชิงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยเหล่านั้น

2. แผนกพัฒนาวิชาการ (Technical Education Development)
        หน่วยงานนี้มุ่งหวังเพื่อที่จะนำความรู้และประสบการณ์ต่างๆที่ได้จากการทำงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยและพัฒนา งานวิเคราะห์และออกแบบ งานบริการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ และงานสนับสนุนการเรียนการสอนและฝึกอบรม โดยจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้นี้ไปพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปถ่ายทอดและเผยแพร่ต่อไปสู่ นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้
ขอบข่ายการให้บริการ
1. บริการให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัย โดยเฉพาะ
    เทคโนโลยี CAD/CAM และเทคโนโลยีที่ใช้เครื่องจักร CNC
2. บริการผลิตขึ้นรูปชิ้นงาน ชิ้นงานวิจัน ด้วยเครื่องจักร อันได้แก่
     -  เครื่องกัดซีเอ็นซี (CNC Milling Machine)
     -  เครื่องกลึงซีเอ็นซี (CNC Turning Machine)
     -  เครื่องตัดโลหะแผ่นด้วยแสงเลเซอร์ (Lacer Cutting)
     -  เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์แบบพื้นฐาน
3. บริการฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีการผลิต
4. บริการวิจัยและสันบัสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน


6. หัวหน้างาน

 1. มีความเป็นผู้นำ (Leadership)
ผู้นำ หมายถึง การแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในทีม และสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ด้วยความเต็มใจ และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกทุกคนในทึม
           5 คุณลักษณะพฤติกรรมด้านผู้นำที่ลูกน้องต้องการมีดังต่อไปนี้
                1. อยากเห็นหัวหน้ามีความกล้าตัดสินใจ หรือตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
                2. อยากเห็นหัวหน้าแสดงความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้นของทีม ไม่ใช่โทษแต่ลูกน้อง
                3. อยากเห็นหัวหน้าพูดจริง ทำจริง ไม่เหลาะแหละ
             4. อยากเห็นหัวหน้าปกป้องลูกน้องในเรื่องต่างๆ เช่น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็นแทนลูกน้อง กล้าชนกับหน่วยงานอื่น
               5. อยากเห็นหัวหน้าเป็นที่พึ่งพิง เวลาที่เกิดปัญหา หรือรู้สึกไม่สบายใจ
 2. มีความยุติธรรม (Fair)
ความยุติธรรม หมายถึง ความเสมอภาคในการตัดสินใจ หรือให้ความสำคัญกับคนใดหรือสิ่งใด โดยที่ไม่เอนเอียงไปด้านใด ด้านหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านความยุติธรรม มีดังนี้
  1. อยากเห็นหัวหน้าเป็นคนมีเหตุผล
  2. อยากเห็นหัวหน้ารู้จักแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงาน
  3. อยากเห็นหัวหน้าไม่แบ่งพรรค แบ่งพวก และรักลูกน้องเท่ากันทุกคน
  4. อยากเห็นหัวหน้ารับฟังความคิดเห็นของตนเองบ้าง
  5. อยากเห็นหัวหน้าตัดสินใจโดยใช้มาตรฐานเดียวกับพนักงานทุก
7. ผู้บริหารระดับกลาง

ผู้บริหารระดับกลาง

ผู้บริหารระดับกลาง หมายถึง ผู้อำนวยการ หัวหน้าศูนย์ ผู้จัดการแผนก หรือหัวหน้าสายงาน

หน้าที่ของผู้บริหารระดับกลาง

  • ดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้
  • ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดนโยบายให้ผู้จัดการระดับล่าง ได้นำแผนงานไปปฏิบัติ


8. ผู้บริหารระดับสูง

ผู้บริหารระดับสูง

ผู้บริหารระดับสูง หมายถึง ประธานกรรมการจนไปถึงกรรมการผู้จัดการ หรืออาจเรียกว่าผู้ริเร่มก่อตั้งองค์การ

หน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง

  • เป็นผู้ตัดสินใจแผนการระยะยาวที่เกี่ยวกับทิศทางโดยรวมขององค์การ
  • กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและกลยุทธ์
  • แนะนำทางการจัดการในสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น