วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คำสั่ง จงตอบคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ (ถ้ามีตัวอย่างให้ยกตัวอย่างประกอบ)

1. จงอธิบายถึงโครงสร้างขององค์กรที่ใช้คอมพิวเตอร์ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ปัจจุบันมีการกล่าวถึงวิธีการรื้อปรับระบบองค์กรใหม่ ในรูปแบบที่เรียกว่า business reinvention กล่าวคือ การปรับปรุงและสร้างค์องค์กรใหม่ โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กร
สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เราแบ่งระดับสารสนเทศออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับส่วนบุคคล ระดับกลุ่มหรือแผนก ระดับองค์กรและระดับระหว่างองค์กร โดยทุกระดับจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อประกอบกัน และให้ได้ประโยชน์จากสารสนเทศ ประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ชั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่ กฏระเบียบต่างๆ และตัวบุคลากรเอง
ศูนย์สารสนเทศขององค์กร คือหน่วยงานที่จะบริหารและจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ที่ต้องลงทุนทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ศูนย์สารสนเทศขององค์กรตามแนวความคิดใหม่ จึงต้องประสานกับธรรมชาติของการทำงานขององค์กรที่มีบุคลากรเป็นแกนนำ เพราะบุคลากรทุกคนย่อมเป็นผู้ใช้สารสนเทศ และยังต้องมองเลยไปเป็นระดับกลุ่ม ระดับองค์กร และระดับระหว่างองค์กร การทำงานในทุกระดับจะต้องประสานการใช้ประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้สูงสุด

2. วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC) อาจแบ่งได้หลายขั้นตอนมีอะไรบ้าง

   ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอน ที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อยเป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้น ด้วยกัน คือ
1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (
Feasibility Study)
3. วิเคราะห์ (
Analysis)
4. ออกแบบ (
Design)
5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (
Construction)
6. การปรับเปลี่ยน (
Conversion)
7. บำรุงรักษา (
Maintenance)

3. บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์หมายถึง

   หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบ โครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

4. อี-เลินนิ่ง (E-Learning) หมายถึง

    e-Learning (Electronic learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ความหมายของ E-learning ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกันคือใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมายของ E-learning ว่าเป็น "การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล"คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
1. อีเลินร์นิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของ         เทคโนโลยีตลอดเวลา
2. อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิด            ประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer        Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ          การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)

5. จงอธิบายถึงความสำคัญของการจัดองค์กรธุรกิจ

การจัดองค์กรธุรกิจ
   ความหมายของการจัดองค์กร
   หมายถึง ความพยายามของผู้บริหารในการกำหนดแนวทาง โครงสร้างองค์กร โดยใช้กระบวนการต่างๆ สำหรับเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน เพื่อความสำเร็จสมความมุ่งหมายตามแผนงานที่ได้จัดวางไว้
การจัดองค์กรมีพื้นฐานความคิดมาจากการที่กิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรมีปริมาณมากเกินกว่าที่บุคคลเพียงคนเดียวจะกระทำให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจของความรู้ความสามารถและความเหมาะสมของบุคคลทุกๆฝ่ายช่วยกันจัดสรรงานตามความเหมาะสมของตนเองและลักษณะงานนั้นๆ

ประโยชน์ของการจัดองค์กร
1. ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขอบเขตของงาน ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่และภารกิจต่าง ๆที่กำหนดไว้
2. ประสานหน้าที่งานด้านต่างๆและจัดกลุ่มงานที่สัมพันธ์ให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน ทำให้การทำงานไม่ซ้ำ       ซ้อนและขจัดข้อขัดแย้งในหน้าที่งาน รวมทั้งทำให้ประหยัด
3. เห็นกระแสการไหลของงานและลดความสับสนในการทำงาน
4. มีขวัญกำลังใจและร่วมแรงร่วมใจในการทำงานดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น